วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

พระธาตุ

นมัสการพระธาตุประจำปีเกิด 12 ปีนักษัตร ตามความเชื่อของชาวล้านนา

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารนมัสการพระธาตุประจำปีเกิด 12 ปีนักษัตร ตามความเชื่อของชาวล้านนา หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าตัวเองมีพระธาตุอะไรเป็นพระธาตุประจำปีเกิดตาม 12 ปี นักษัตร บทความครั้งนี้เลยนำมาบอกเล่ากัน เริ่มต้นด้วย ปีชวด พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุศรีจอมทอง, ปีฉลู พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุลำปางหลวง, ปีขาล พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุช่อแฮ, ปีเถาะ พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุแช่แห้ง, ปีมะโรง พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร, ปีมะเส็ง พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ เจดีย์เจ็ดยอด (สื่อถึงพุทธคยา), ปีมะเมีย พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง, ปีมะแม พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระบรมธาตุดอยสุเทพ, ปีวอก พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุพนม, ปีระกา พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุหริภุญชัย, ปีจอ พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุเจดีย์ไจก์ถิโย และ พระธาตุเกตแก้ว (สื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณี), ปีกุน พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุดอยตุง

นายร้อย

ข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ ที่จะเลือกเป็นนักเรียนนายร้อย
              เกียรติยศ เกียรติศักดิ์ของนักเรียนนายร้อย มิได้อยู่ที่การแต่งเครื่องแบบโก้หรู มิได้อยู่ที่การศึกษาเพื่อได้เป็นเจ้าคนนายคน
มิได้อยู่ที่การ ได้มีโอกาสเล่าเรียนด้วยทุนของทางราชการหรือความภูมิใจที่ผ่านการคัดเลือกมาจากคนเป็นหมื่น ๆ คนเท่านั้น เกียรติยศ
 เกียรติศักดิ์ โดยแท้จริงของนักเรียนนายร้อยคือ
- เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
- เป็นผู้ตั้งใจอุทิศตนอย่างแน่วแน่ ที่จะเสียสละโอกาสและความสุขสบาย เพื่อรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร
- เป็นผู้มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่อ ความยากลำบากในการรับการฝึก การหัด
และการฝึกฝนทั้งปวง เพื่อความเข้มแข็ง ทั้งร่างกาย และจิตใจ  รวมทั้งสติสัมปชัญญะเพื่อการเป็นผู้นำทหาร ที่มีความภาคภูมิใจ
และได้รับความเชื่อถือ ศรัทธาจากผู้ใต้บังคับบัญชาและคนทั่วไป
- เป็นผู้ที่พร้อมในการในการพัฒนาตนเองไปสู่ความมีวินัย จริยธรรม คุณธรรม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และเป็นตัวอย่าง
ในการประพฤติตนเป็นคนดีและเสียสละ เพื่อชาติตลอดทั้งชีวิต
- เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้รอบ ตามทันการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
- เมื่อจบการศึกษาแล้วเป็นนายทหารหลักของกองทัพบก ซึ่งเป็นแบบฉบับของนายทหารผู้มีคุณสมบัติสมบูรณ์ตามที่กองทัพ
และประเทศชาติพึงปรารถนา
           
สาระสำคัญของระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่เกี่ยวกับนักเรียนนายร้อย
ข้อ ๗ การรับบุคคลเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย
๗.๑ บุคคลเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดของโรงเรียนเตรียมทหาร ได้คะแนนตามที่ทางราชการกำหนด
ข้อ ๘ สิทธิและหน้าที่ของนักเรียนนายร้อย
๘.๑ นักเรียนนายร้อยเป็นนักเรียนทหาร ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยโรงเรียนทหาร พ.ศ. ๒๕๔๓ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
๘.๒ บุคคลที่สมัครเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย ให้ถือว่าเป็นผู้ที่ร้องขอรับราชการ ทหารกองประจำการ ตามกฎกระทรวงออกตามคาม
ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
๘.๓ นักเรียนนายร้อยจะต้องปฏิบัติตามกฎ  ระเบียบ  คำสั่ง  แบบธรรมเนียมของ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กับจะต้องเคารพ
และปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง แบบธรรมเนียมของทหาร ทั้งยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายอีกด้วย
๘.๔ นักเรียนนายร้อยจะต้องรับการฝึกและอบรม ตามระเบียบและหลักสูตร ที่ทางราชการกำหนดโดยเคร่งครัด
๘.๕ นักเรียนนายร้อยมีสิทธิได้รับ เงินเดือน การเลี้ยงดู การรับสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ การรักษาพยาบาล รวมทั้งสิทธิอื่น ๆ
ตามที่ทางราชการกำหนดตลอดเวลาที่เป็นนักเรียนนายร้อย

คอร์สเรียน

โรงเรียนนายเรืออากาศ

 
โรงเรียนนายเรืออากาศ
Royal Thai Air Force Academy
ตราโรงเรียนนายเรืออากาศ.jpg
ประเภทโรงเรียนทหาร-ตำรวจ
ที่ตั้ง171/1 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
โรงเรียนนายเรืออากาศ เป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของกองทัพอากาศไทย มีหน้าที่อำนวยการศึกษา ฝึกอบรม และปกครองนักเรียนนายเรืออากาศ เสนอแนะหลักสูตร และกำหนดแนวการสอน โดยมีผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ บังคับบัญชาการดำเนินการศึกษาวิชาการและการทหาร รวมทั้งการฝึกฝน ด้านทฤษฎี และปฏิบัติ โดยยึดถือตามระเบียบวินัยที่ได้ บัญญัติไว้ดำเนินการฝึกฝน ระเบียบประเพณี มารยาท จริยธรรม ความเป็นผู้นำ และพัฒนาบุคลิก ความเป็นนักเรียนนายเรืออากาศ ปกครองดูแลนักเรียนนายเรืออากาศ ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนนายเรืออากาศ เรียกว่า นักเรียนนายเรืออากาศ (คำย่อ นนอ.)

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] ประวัติ

ธงไชยเฉลิมพลประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ
ก่อนปี พ.ศ. 2493 กองทัพอากาศรับบุคลากรที่ผลิตจากสถาบันการศึกษาอื่นและมหาวิทยาลัยเข้ามาทำงานในกองทัพอากาศ ต่อมาภารกิจและกิจการของกองทัพอากาศมีมากขึ้น ประกอบกับยังไม่มีสถาบันที่จะผลิตนายทหารสัญญาบัตรของตนเอง นอกจากนี้ ทางกองทัพอากาศต้องการนายทหารที่มีความรู้เฉพาะสาขาวิชามากกว่าด้านความรู้ทั่วไป จึงได้เตรียมการเริ่มตั้ง "โรงเรียนนายเรืออากาศ" เพื่อผลิตนายทหารหลักให้กับกองทัพอากาศ แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัดประกอบกับปัญหาบางประการจึง ทำให้การก่อตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศต้องล่าช้าออกไปนานนับทศวรรษ
ใน พ.ศ. 2493 กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ได้เสนอเสนาธิการทหารอากาศว่า นายทหารของกองทัพอากาศนั้น ควรที่จะได้รับการศึกษา และการฝึกฝนตลอดระยะเวลาที่รับราชการอยู่ในกองทัพอากาศ และในปีต่อมา เสนาธิการทหารอากาศได้มีคำสั่งให้กรมยุทธศึกษาทหารอากาศเตรียมโครงการเพื่อเปิดโรงเรียนนายเรืออากาศโดยละเอียด
โครงการจัดตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศได้รับนโยบายและความเห็นชอบจากผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้น จึงเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะรัฐบาลคณะรัฐมนตรีได้ประชุมลงมติอนุมัติ ใน ปีพ.ศ. 2495

[แก้] สัญลักษณ์ประจำสถาบัน

ลักษณะของสัญลักษณ์ประจำสถาบัน เป็นรูปอาร์มคาดแถบธงไตรรงค์ในแนวเฉียง ประดับปีกนกกางทั้ง 2 ข้าง สีทอง ภายใต้อุณาโลม สีเงิน และพระมหามงกุฎรัศมี สีทอง (ปีกนักบินชั้นที่ 1) เหนือดาว 5 แฉก สีเงิน รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ สีทอง ทั้งหมดบรรจุอยู่ในวงกลม สีฟ้า ใต้วงกลมมีแถบปลายแฉกสะบัดลงทั้ง 2 ข้าง สีเหลือง กลางแถบมีคำว่า "โรงเรียนนายเรืออากาศ" สีน้ำเงินดำ
  • ปีกนักบินชั้นที่ 1 เป็นสัญลักษณ์ของนักบินทหารอากาศ แสดงถึงนักเรียนนายเรืออากาศซึ่งสำเร็จออกเป็นนายทหารสัญญาบัตร และจะเป็นนักบินของทหารอากาศต่อไป
  • ดาว 5 แฉกสีเงิน แสดงถึง ความมีเกียรติ นักเรียนนายเรืออากาศทุกคนมุ่งมั่นปรารถนาที่จะรับราชการให้มีความก้าวหน้าสูงถึงขั้นนายพลอากาศ
  • ช่อชัยพฤกษ์ใบสีทอง แสดงถึง ความสำเร็จด้านการศึกษาของนักเรียนนายเรืออากาศ เพื่อที่ออกไปรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตรต่อไป
  • วงกลมสีฟ้า และแถบปลายแฉกสะบัดสีเหลือง โดยสีฟ้า-เหลือง เป็นสีประจำโรงเรียนนายเรืออากาศ

[แก้] โครงสร้างหน่วยงาน

นักเรียนนายเรืออากาศในเครื่องแบบทหารรักษาพระองค์สังกัดกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์
กองบัญชาการ
กองการศึกษา
กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ 
จัดกำลังพลออกเป็น 4 กองพัน 1 ฝูงบิน และกองพัฒนาภาวะผู้นำ
กองบริการ
กองวิชาทหาร
กองพลศึกษา
กองเทคโนโลยีและสารสนเทศ
กองสถิติและประเมินผล
กองส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
แผนกการเงิน

หลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มี 5 สาขาวิชา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 2 สาขาวิชา

ประวัติโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ประวัติโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
พัฒนาการอันยาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษ
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นนามที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ขนานนามโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในกระทรวงกลาโหม
เป็น "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 องค์พระผู้พระราชทานกำเนิดสถาบันการศึกษาแห่งนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะมีพระชนมายุ 15 พรรษา
พระองค์ทรงสนพระทัยในกิจการทหารทุกประเภท ประกอบกับในครั้งนั้นมีบุตรราชตระกูลและข้าราชการที่มีอายุอยู่ในวัยเยาว์
เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในหลายคนด้วยกัน
 
 พ.ศ.2411
จัดตั้ง "ทหารมหาดเล็กไล่กา" ในชั้นแรกมีจำนวนประมาณ 12 คน
ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนข้าวสุกในเวลาทรงบาตร และได้จัดตั้งบอร์ดีการ์ดขึ้น 24 คน
โดยทรงเลือกจากทหารมหาดเล็กข้าหลวงเดิม และเรียกกันว่า "ทหาร 2 โหล"
พ.ศ.2413
จัดตั้ง"กองทหารมหาดเล็ก" โดยคัดเลือกบุคคลจากมหาดเล็กหลวงได้จำนวน 72 คน
และได้รวมทหาร 2 โหล เข้าสมทบอยู่ในพวกใหม่นี้ด้วย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     
 พ.ศ.2414
เมื่อทรงจัดการทหารมหาดเล็กพอมีหลักฐานเรียบร้อยขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้
ขนานนามกองทหารมหาดเล็กนี้ว่า "กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์"
พ.ศ.2415
จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก เพื่อสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาไทย
เรียกสถานศึกษาว่า "คะเด็ตทหารมหาดเล็ก" ส่วนนักเรียนเรียกว่า "คะเด็ต"
ใช้เวลาศึกษา 2 ปี นักเรียนเหล่านี้นอนตามระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
 
  
  
  
  
  
  
     
 พ.ศ.2424
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับทหารหน้าขึ้น จึงกำเนิด "คะเด็ตทหารหน้า" ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง
ที่วังสราญรมย์ มีนักเรียนจำนวน 40 คน เรียกนักเรียน เหล่านี้ว่า "คะเด็ตทหารหน้า"
8 เม.ย. 2430
ให้รวมกรมทหารทั้ง 9 กรมได้แก่ กรมทหารบก 7 กรม ทหารเรือ 2 กรม
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่า "กรมยุทธนาธิการ"
 
  
  
  
  
  
  
  
  
     
 5 ส.ค. 2430
โปรดเกล้าฯให้รวมคะเด็ตทหารมหาดเล็ก คะเด็ตทหารหน้า
นักเรียนแผนที่และส่วนที่เป็นทหารสก็อต (ทหารมหาดเล็กรุ่นเยาว์สำหรับ
แห่โสกันต์) เข้าด้วยกันและใช้ชื่อรวมว่า "คะเด็ตสกูล" (ภาษาอังกฤษ)
โดยใช้พื้นที่บริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์
และพระราชทานกำเนิดเป็น "โรงเรียนทหารสราญรมย์"
เนื่องในวันสำคัญนี้จึงถือเป็นวันพระราชทานกำเนิด
แหล่งผลิตนายทหารหลักให้แก่กองทัพบก
6 ต.ค. 2440
ได้รวมกองโรงเรียนนายสิบ เข้ามาสมทบอยู่ในโรงเรียนไทหารสราญรมย์
และเรียกชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนสอนวิชาทหารบก"
 
  
  
  
  
  
  
  
  
  
     
 พ.ศ.2441
จัดตั้งกรมเสนาธิการ ขึ้นตรงกับกรมยุทธนาธิการ และต่อมาได้จัดตั้งกรมยุทธศึกษา
ขึ้นตรงกับกรมเสนาธิการ โดยให้มีหน้าที่อำนวยการสอนแต่อย่างเดียว
และตราข้อบังคับใหม่เรียกว่า "ข้อบังคับโรงเรียนทหารบก"
และได้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น "โรงเรียนทหารบก" เมื่อ 27 พ.ย. 2441
พ.ศ.2445
เนื่องจากโรงเรียนทหารบกที่ตั้งอยู่ริมวังสราญรมย์ ซึ่งให้การศึกษาในระดับประถมศึกษา
มีจำนวนนักเรียนมากขึ้นจนสถานที่เดิมแคบลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ขยายโรงเรียนมาตั้งที่ถนนราชดำเนินนอก มีพื้นที่ 30 ไร่เศษและขยายการศึกษา
เพิ่มเป็นระดับมัธยมศึกษา
 
  
  
  
  
  
  
  
     
     
 11 พ.ย. 2451
โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำกอง
โรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นมัธยมและโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นประถม
แสดงว่านักเรียนนายร้อยไม่เพียงเรียนได้ดีเท่านั้น
ยังเป็นนักเรียนที่สามารถออกศึกสงคราม เช่นเดียวกับทหารบกทั้งปวง
และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
 
  
   
   
    
 26 ธ.ค. 2452
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเปิดโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม
อย่างเป็นทางการ
 
  
  
    
   
 
พ.ศ.2468
 อันเป็นสมัยที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
ทำให้ต้องจัดการย้ายโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นประถม
จากบริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์
เข้ามารวมกันที่โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม ถนนราชดำเนินนอก
เรียกว่า "โรงเรียนนายร้อยทหารบก"
และให้ยกเลิก ชั้นประถม และมัธยม
 
  
  
  
  
  
   
 26 มี.ค. 2471 
 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานกระบี่และรางวัล
แก่นักเรียนนายร้อยทหารบกที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดทุกคนเป็นครั้งแรก
ตลอดจนถึงรัชกาลปัจจุบัน มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชทานกระบี่เป็นประจำทุกปี
 
  
     
  
  
  
  
  
  
  
     
 พ.ศ.2477 
 กรมยุทธศึกษาได้มีการปรับปรุงและจัดระเบียบใหม่ ทั้งบุคคลและหน่วยงาน
จึงได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก" มีหน้าที่ฝึกอบรมนักเรียนที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร
เหล่าทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ทหารสื่อสาร ทหารช่างแสง และช่างอากาศ
สำหรับโรงเรียนนายร้อยทหารบก มีหน้าที่ฝึกอบรมนักเรียนที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร
เหล่าทหารราบ ทหารม้า และนายตำรวจ
 
  
  
     
    
 3 พ.ค.2489
ยุบโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก และแผนกตำรวจในกรมยุทธศึกษาทหารบก
และเปลี่ยนชื่อกรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น "โรงเรียนนายร้อยทหารบก"
และให้ขึ้นตรงต่อกองทัพบก
 
  
  
  
    
   
   
   
   
    
 1 ม.ค. 2491
ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
ขนานนามโรงเรียนนายร้อยทหารบก ว่า "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า"
เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Chulachomklao Royal Military Academy"
เพื่อเป็นอนุสรณ์และเฉลิมพระเกียรติ ในพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิด
และได้ดำเนินกิจการเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติมาด้วยดี
 
  
  
  
  
     
  ธ.ค. 2523 
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ย้ายมาตั้งอยู่ที่บริเวณเขาชะโงก อำเภอเมือง ต่อกับอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
พื้นที่ประมาณ 21,000 ไร่เศษ และได้เริ่มโครงการก่อสร้าง
 
  
   
  
  
  
  
  
  
  
  
     
 29 ก.ค. 2529 
 เคลื่อนย้ายนักเรียนนายร้อย และข้าราชการ ออกจากที่ตั้งเดิม
เข้าสู่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ ที่ตั้งแห่งใหม่ จังหวัดนครนายก

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
Royal Police Cadet Academy
สัญลักษณ์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ประเภทโรงเรียนทหาร-ตำรวจ
ที่ตั้ง90 หมู่ที่ 7 ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
เว็บไซต์http://www.rpca.ac.th/
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (Royal Police Cadet Academy : RPCA) เป็นสถาบันอุดมศึกษา ในสังกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยระดับ กองบัญชาการ ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นสถาบันหลักในการให้การฝึก ศึกษา อบรมและหล่อหลอมนักเรียนนายร้อยตำรวจ และหลักสูตรนักเรียนอบรมชั้นสัญญาบัตรอื่นๆ ให้มีคุณลักษณะเหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ในตำแหน่งรองสารวัตรหรือเทียบเท่า ตามความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ที่ศึกษาตามหลักสูตรหลักของในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เรียกว่า "นักเรียนนายร้อยตำรวจ" (นรต.) ผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น "ว่าที่ร้อยตำรวจตรี" โดยนายตำรวจสัญญาบัตรชายที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้ารับพระราชทานกระบี่จากพระองค์ท่านตลอดมา

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] ประวัติ

พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระบรมราชานุญาตให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
เอกสารแสดงว่าโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจและมีพระบรมราชานุญาตให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นในประเทศไทย อันเป็นรากฐานเริ่มต้นของโรงเรียนนายร้อยตำรวจยุคปัจจุบัน โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพเสนาบดีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือที่ 67/719 ลงวันที่ 19 เมษายน ร.ศ.121 (พ.ศ. 2445) กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นแล้ว แต่ติดขัดเรื่องที่ในการตั้งโรงเรียน จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไปตั้งที่ ต.ห้วยจรเข้ จ.นครปฐม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานพระบรมราชานุญาต และได้มีพระราชหัตถเลขาถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ 2 ฉบับ ฉบับแรกหนังสือที่ 59/234 ลงวันที่ 20 เมษายน ร.ศ.121 ฉบับที่ 2 หนังสือที่ 131/361 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม ร.ศ.121 โปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามความกราบบังคมทูลขอของกรมหลวงดำรงราชานุภาพ อันเป็นหลักฐานที่แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้น
สำหรับประวัติสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มตั้งขึ้นในประเทศไทย จนกระทั่งมีที่ตั้งล่าสุดที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งตามลำดับดังนี้
  • สมัยที่ 1 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร นครราชสีมา พ.ศ. 2444 - พ.ศ. 2447 มีนายร้อยโท ม.ร.ว.แดง (หม่อมแดง) ผู้บังคับการกองตำรวจภูธรเขต 3 นครราชสีมา ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นคนแรก
  • สมัยที่ 2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2458
  • สมัยที่ 3 โรงเรียนนายหมวด คลองไผ่สิงโต กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2464
  • สมัยที่ 4 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2464 - พ.ศ. 2476
  • สมัยที่ 5 โรงเรียนนายร้อยทหารบก (ยศ.) กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2489 ทั้งนี้ ได้มีการเริ่มนับรุ่นของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ครั้งแรกเป็น นรต.รุ่นที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2480 ในขณะที่ศึกษาร่วมกับนักเรียนนายร้อยทหารบก
  • สมัยที่ 6 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2498
  • สมัยที่ 7 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2498 - ปัจจุบัน
ซึ่ง พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น เป็นผู้วางรากฐานให้ย้ายสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไปตั้ง ณ อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ณ อ.สามพราน จ.นครปฐม อย่างเป็นทางการ

[แก้] ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พร้อมกับหน่วยตำรวจอื่นรวม 6 หน่วย เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ณ ลานพระราชวังดุสิต
ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจและธงชัยหน่วยตำรวจอื่นๆ ในพิธีถวายคำสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามเนื่องในวันตำรวจ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำในวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปีที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน
โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้รับพระราชทานธงชัยประจำหน่วยตำรวจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับหน่วยอื่นของตำรวจอีก 5 หน่วย เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจด้วยพระองค์เอง ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ผืนธงมีลักษณะเช่นเดียวกับธงชาติ ภายในยอดธงบรรจุเส้นพระเกศาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และบรรจุพระพุทธรูปองค์เล็กเรียกว่า "พระยอดธง" เอาไว้ ธงชัยจึงถือเป็นตัวแทนของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเหล่าข้าราชการตำรวจ นักเรียนนายร้อยตำรวจ และปวงชนชาวไทยให้ความเคารพ
ธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจนี้ มีลักษณะและการได้มาเช่นเดียวกันกับธงชัยเฉลิมพลของทหารทุกประการ โดยสำนักราชเลขาธิการได้บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับ "ธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจ" นี้ไว้ ตามหลักฐานต่างๆปรากฏชื่อธงดังกล่าว ได้แก่ "ธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจ" "ธงชัยประจำกอง" "ธงชัย" "ธงประจำกอง" ซึ่งก็คือธงเดียวกัน ในวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันตำรวจ คณะนายตำรวจปกครองและนักเรียนนายร้อยตำรวจ จะทำการอัญเชิญธงชัยประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจนี้ไปทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนาม

[แก้] โครงสร้างส่วนราชการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

  • สำนักเลขานุการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • กองบังคับการปกครอง
    • ฝ่ายอำนวยการ
    • ฝ่ายปกครอง 1 (ปกครองนักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 1 - 4)
    • ฝ่ายปกครอง 2 (ปกครองนักเรียนอบรม)
    • ฝ่ายปกครอง 3 (ปกครองนักเรียนเตรียมทหาร โดยปฏิบัติหน้าที่ ณ โรงเรียนเตรียมทหาร อ.บ้านนา จ.นครนายก)
    • ฝ่ายกิจกรรมนักเรียน
  • กองบังคับการอำนวยการ
    • ฝ่ายอำนวยการ 1
    • ฝ่ายอำนวยการ 2
    • ฝ่ายอำนวยการ 3
    • ฝ่ายอำนวยการ 4
  • ศูนย์บริการทางการศึกษา (เทียบกองบังคับการ)
  • ศูนย์ฝึกตำรวจ (เทียบกองบังคับการ)
    • งานอำนวยการ
    • กลุ่มงานยุทธวิธีตำรวจ
    • กลุ่มงานพละศึกษา
    • กลุ่มงานแบบธรรมเนียมตำรวจ
  • คณะตำรวจศาสตร์
    • สำนักงานคณบดี
    • กลุ่มงานคณาจารย์
  • คณะสังคมศาสตร์
    • สำนักงานคณบดี
    • กลุ่มงานคณาจารย์
  • คณะนิติวิทยาศาสตร์
    • สำนักงานคณบดี
    • กลุ่มงานคณาจารย์
  • สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ
    • ฝ่ายระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

[แก้] หลักสูตร

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีภารกิจหลักในการให้การศึกษาอบรมทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และการอบรมหล่อหลอมคุณลักษณะความเป็นนายตำรวจสัญญาบัตรให้แก่ผู้ที่เข้ารับการศึกษาอบรมในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งหลักสูตรหลักและเป็นหลักสูตรประจำของโรงเรียนนายร้อยตำรวจคือ "หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ"
หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ (รป.บ.(ตร.)) มุ่งเน้นการศึกษาอบรมให้นักเรียนนายร้อยตำรวจมีวิชาความรู้และการอบรมหล่อมหลอมคุณลักษณะอันดีใน 3 ด้าน คือ
1.มีความรู้ทางวิชาการพื้นฐานของระดับปริญญาตรี
2.มีความรู้ทางวิชาชีพ ที่เป็นความรู้เฉพาะในด้านตำรวจ
3.มีบุคลิกลักษณะและมีภาวะความเป็นผู้นำตำรวจ มีคุณลักษณะทางร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมจะเป็นนายตำรวจสัญญาบัตร และมีคุณธรรมจริยธรรม
สภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจให้มีความทันสมัย มีความเหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาโดยตลอด
นอกจากนั้น โรงเรียนนายร้อยตำรวจยังได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการเปิดหลักสูตรร่วมกัน เช่น ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

[แก้] อุดมคติของตำรวจ

เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
กรุณาปราณีต่อประชาชน
อดทนต่อความเจ็บใจ
ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
ไม่มักมากในลาภผล
มุ่งบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
ดำรงตนในยุติธรรม
กระทำการด้วยปัญญา
รักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต
พระนิพนธ์โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายีมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกองค์ที่ 16 เมื่อพุทธศักราช 2499

[แก้] เพลงประจำสถาบัน

  1. มาร์ช นรต. (เพลงมาร์ชประจำสถาบัน)
  2. มาร์ชพิทักษ์สันติราษฎร์ (เพลงประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
  3. สามพราน
  4. สนสามพราน
  5. ขวัญดาว
  6. ลาก่อนสามพราน
  7. ลาแล้วสามพราน
  8. สามพรานแดนดาว

[แก้] นักเรียนนายร้อยตำรวจ

[แก้] คำขวัญประจำชั้นปี

นรต.ทั้ง 4 ชั้นปีจะมีคำขวัญของชั้นปีตนเองที่จะบ่งบอกถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงภารกิจที่ได้รับหมอบหมาย
ชั้นปีที่ 1 "ขันตีอุตสาหะ" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 1 ต้องมีความอดทนอดกลั้นและความวิริยะอุตสาหะเป็นพิเศษ เพื่อที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆได้ไปจนตลอดรอดฝั่ง
ชั้นปีที่ 2 "วิจัยกรณี" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 2 จะต้องเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะในการวินิจฉัย พิจารณาในสิ่งต่างๆ รู้จักการวางตนต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
ชั้นปีที่ 3 "รักษ์วินัย" 
หมายถึง นรต. ชั้นปีที่ 3 จะต้องเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยอย่างดีเยี่ยม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การก้าวขึ้นเป็นผู้ถ่ายทอด ปลูกฝังความเป็น นรต.ให้แก่รุ่นต่อๆไป
ชั้นปีที่ 4 "เกียรติศักดิ์" 
หมายถึง นรต.ชั้นปีที่ 4 จะต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบและวินัยในตนเอง สมกับเป็นผู้ที่มีเกียรติ และเตรียมพร้อมสู่ความเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร
คำขวัญของนักเรียนนายร้อยตำรวจนั้น เป็นกุศโลบายที่จะฝึกให้ นรต.มีคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และกำลังจะสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งจะฝึกให้ นรต.รู้จักความเป็น "ผู้ใต้บังคับบัญชา"ที่ดีในชั้นปีที่ 1-2 และเป็น "ผู้บังคับบัญชา" ที่ดีในชั้นปีที่ 3-4 คำขวัญดังกล่าวมักจะถูกเรียกให้คล้องจองคือ "เกียรติศักดิ์ รักษ์วินัย วิจัยกรณี ขันตีอุตสาหะ"

[แก้] สีประจำชั้นปี

สีประจำชั้นปีนี้จะถูกใช้เป็นสีประจำกองร้อย(อาคารนอน)และเป็นสีหมวก ซึ่งการเลื่อนชั้นการศึกษาของ นรต.นั้นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มี พิธีประดับเลขชั้นปีและเปลี่ยนหมวกสี แล้ว ซึ่งจะกระทำในวันรุ่งขึ้นหลังจากมี พิธีวิ่งรับหมวก (Long March) ในวันเริ่มต้นเปิดภาคการศึกษา

[แก้] เครื่องแบบนักเรียนนายร้อยตำรวจ

เครื่องแบบและชุดแต่งกายของนักเรียนนายร้อยตำรวจ
เครื่องแบบ และชุดแต่งกายของนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีทั้งสิ้นจำนวน 16 แบบ ได้แก่
  • เครื่องแบบเต็มยศ
  • เครื่องแบบครึ่งยศ
  • เครื่องแบบสโมสรปิดอก
  • เครื่องแบบปกติขาว
  • เครื่องแบบปกติเสื้อนอกคอแบะกากี
  • เครื่องแบบปกติเสื้อเชิ้ตคอพับกากี (มีผ้าผูกคอ)
  • เครื่องแบบฝึก
  • เครื่องแบบสนามชนิดไม่ปล่อยเอว(ฟาติก)
  • เครื่องแบบสนามชนิดปล่อยเอว(เวสต์)
  • ชุดศึกษาดูงาน (หมวกหนีบ)
  • ชุดศึกษา (หมวกแก๊ปทรงตึง)
  • ชุดฝึกยิงปืน
  • ชุดลำลอง
  • ชุดกีฬาขาสั้น
  • ชุดกีฬาขายาว
  • ชุดวอร์ม
หมวก มีทั้งสิ้น 7 แบบ
  • หมวกปีกทรงแข็งสีกากี มียอดโลหะสีเงิน (หมวกยอด)
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี มีสายรัดคางดิ้นเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีขาว สายรัดคางดิ้นเงิน
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี สายรัดคางหนังสีดำ
  • หมวกหนีบสีกากี
  • หมวกแก๊ปทรงตึง(สีประจำกองร้อย)
  • หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีดำ
  • หมวกทรงอ่อนสักหลาดสีดำ (เบเร่ต์)
รองเท้า มีทั้งสิ้น 4 แบบ
  • รองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำ (ฮาล์ฟ)
  • รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำ (คัทชู)
  • รองเท้าสูงครึ่งน่องหนังสีดำ (คอมแบทฝึก)
  • รองเท้ากีฬาผ้าใบหุ้มส้นสีขาว
ส่วนประกอบเครื่องแบบ
  • หน้าหมวกตราแผ่นดิน
  • อาร์มคอรูปตราสัญลักษณ์โรงเรียนนายร้อยตำรวจสีเงิน
  • อินทธนูแข็งสีแดงเลือดหมูประดับสายพาดดิ้นเงิน
  • เครื่องหมาย "ร"
  • เครื่องหมายเลขไทยตามชั้นปี
  • ป้ายชื่อโลหะ
  • แพรแถบข้าราชการตำรวจ
  • กระบี่สั้นนักเรียนนายร้อยตำรวจพร้อมสายโยงกระบี่
  • กระบี่ยาวนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรชาย พร้อมสายโยงกระบี่และขอเกี่ยวกระบี่สามชาย (ใช้ในการฝึกและการสวนสนาม)
เครื่องหมายการผ่านการฝึก และความสามารถพิเศษประกอบเครื่องแบบ
  • เครื่องหมายหลักสูตรต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ (ตปส.)
  • เครื่องหมายหลักสูตรการโดดร่ม จากกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ตชด.(ค่ายนเรศวร)ปีกร่มชนิดทำด้วยดิ้น
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนพกในระบบ เอ็น.อาร์.เอ (N.R.A.)
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนยาว
  • เครื่องหมายความสามารถอื่นๆ
อุปกรณ์ประจำกายอื่นๆ
  • อาวุธปืนสั้น (ใช้ในการฝึก)
  • อาวุธปืนเล็กยาว ปลย.11,HK (ใช้ในการฝึกและการสวนสนาม)
  • ถุงมือ (ใช้ในการฝึกหัดปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่จราจร)
  • วิทยุสื่อสาร
  • นกหวีด
  • กุญแจมือ

[แก้] หลักสูตรต่างๆของนักเรียนนายร้อยตำรวจ

นอกจากนักเรียนนายร้อยตำรวจจะต้องศึกษาภาควิชาการ และการอบรมหล่อหลอมด้านความคิดจิตวิญญาณแล้ว นรต.ทั้งหมดจะต้องเข้ารับการฝึกหลักสูตรต่างๆดังต่อไปนี้
  • หลักสูตรการต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ(ตปส.)สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 1 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "หลักสูตรพ่อแม่สมมุติ" ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรการโดดร่ม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตำรวจพลร่ม ค่ายนเรศวร) หลักสูตรนี้ไม่เป็นหลักสูตรบังคับ หากไม่เข้ารับการฝึก จะต้องฝึกหลักสูตรอื่นๆทดแทน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกปฏิบัติงานในสถานีตำรวจ สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 โดยให้ฝึกงานสายป้องกันปราบปราม,สืบสวน,จราจร,อำนวยการ ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยส่งตัวให้ไปฝึกในสถานีตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรต่างๆ
  • หลักสูตรฝึกหัดงานสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ฝึกหลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยส่งตัวให้ฝึกในสถานีตำรวจนครบาลต่างๆ
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสืบสวนสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ต่อเนื่องจนถึงประดับยศเป็นว่าที่ ร.ต.ต.โดยส่งตัว นรต.ชั้นปีที่ 4 ที่สำเร็จการศึกษาแล้วให้รับการฝึก ณ สถาบันส่งสริมงานสอบสวน ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม ใช้ระยะเวลาฝึกเป็นเวลา 8 เดือน ก่อนจะแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งต่างๆในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

[แก้] นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 (ตรงกับนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 66)เป็นต้นมา โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้เปิดรับสมัครนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงเป็นรุ่นแรก จำนวน 70 นาย โดยคัดเลือกจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 นาย และข้าราชการตำรวจชั้นประทวนเพศหญิงอายุไม่เกิน 25 ปี อีก 10 นาย ผลปรากฏว่ามีผู้สมัครสอบคัดเลือกถึงกว่า 17,000 คน