วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ประวัติโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
พัฒนาการอันยาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษ
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นนามที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ขนานนามโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในกระทรวงกลาโหม
เป็น "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 องค์พระผู้พระราชทานกำเนิดสถาบันการศึกษาแห่งนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะมีพระชนมายุ 15 พรรษา
พระองค์ทรงสนพระทัยในกิจการทหารทุกประเภท ประกอบกับในครั้งนั้นมีบุตรราชตระกูลและข้าราชการที่มีอายุอยู่ในวัยเยาว์
เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในหลายคนด้วยกัน
 
 พ.ศ.2411
จัดตั้ง "ทหารมหาดเล็กไล่กา" ในชั้นแรกมีจำนวนประมาณ 12 คน
ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนข้าวสุกในเวลาทรงบาตร และได้จัดตั้งบอร์ดีการ์ดขึ้น 24 คน
โดยทรงเลือกจากทหารมหาดเล็กข้าหลวงเดิม และเรียกกันว่า "ทหาร 2 โหล"
พ.ศ.2413
จัดตั้ง"กองทหารมหาดเล็ก" โดยคัดเลือกบุคคลจากมหาดเล็กหลวงได้จำนวน 72 คน
และได้รวมทหาร 2 โหล เข้าสมทบอยู่ในพวกใหม่นี้ด้วย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     
 พ.ศ.2414
เมื่อทรงจัดการทหารมหาดเล็กพอมีหลักฐานเรียบร้อยขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้
ขนานนามกองทหารมหาดเล็กนี้ว่า "กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์"
พ.ศ.2415
จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก เพื่อสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาไทย
เรียกสถานศึกษาว่า "คะเด็ตทหารมหาดเล็ก" ส่วนนักเรียนเรียกว่า "คะเด็ต"
ใช้เวลาศึกษา 2 ปี นักเรียนเหล่านี้นอนตามระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
 
  
  
  
  
  
  
     
 พ.ศ.2424
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับทหารหน้าขึ้น จึงกำเนิด "คะเด็ตทหารหน้า" ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง
ที่วังสราญรมย์ มีนักเรียนจำนวน 40 คน เรียกนักเรียน เหล่านี้ว่า "คะเด็ตทหารหน้า"
8 เม.ย. 2430
ให้รวมกรมทหารทั้ง 9 กรมได้แก่ กรมทหารบก 7 กรม ทหารเรือ 2 กรม
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่า "กรมยุทธนาธิการ"
 
  
  
  
  
  
  
  
  
     
 5 ส.ค. 2430
โปรดเกล้าฯให้รวมคะเด็ตทหารมหาดเล็ก คะเด็ตทหารหน้า
นักเรียนแผนที่และส่วนที่เป็นทหารสก็อต (ทหารมหาดเล็กรุ่นเยาว์สำหรับ
แห่โสกันต์) เข้าด้วยกันและใช้ชื่อรวมว่า "คะเด็ตสกูล" (ภาษาอังกฤษ)
โดยใช้พื้นที่บริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์
และพระราชทานกำเนิดเป็น "โรงเรียนทหารสราญรมย์"
เนื่องในวันสำคัญนี้จึงถือเป็นวันพระราชทานกำเนิด
แหล่งผลิตนายทหารหลักให้แก่กองทัพบก
6 ต.ค. 2440
ได้รวมกองโรงเรียนนายสิบ เข้ามาสมทบอยู่ในโรงเรียนไทหารสราญรมย์
และเรียกชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนสอนวิชาทหารบก"
 
  
  
  
  
  
  
  
  
  
     
 พ.ศ.2441
จัดตั้งกรมเสนาธิการ ขึ้นตรงกับกรมยุทธนาธิการ และต่อมาได้จัดตั้งกรมยุทธศึกษา
ขึ้นตรงกับกรมเสนาธิการ โดยให้มีหน้าที่อำนวยการสอนแต่อย่างเดียว
และตราข้อบังคับใหม่เรียกว่า "ข้อบังคับโรงเรียนทหารบก"
และได้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น "โรงเรียนทหารบก" เมื่อ 27 พ.ย. 2441
พ.ศ.2445
เนื่องจากโรงเรียนทหารบกที่ตั้งอยู่ริมวังสราญรมย์ ซึ่งให้การศึกษาในระดับประถมศึกษา
มีจำนวนนักเรียนมากขึ้นจนสถานที่เดิมแคบลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ขยายโรงเรียนมาตั้งที่ถนนราชดำเนินนอก มีพื้นที่ 30 ไร่เศษและขยายการศึกษา
เพิ่มเป็นระดับมัธยมศึกษา
 
  
  
  
  
  
  
  
     
     
 11 พ.ย. 2451
โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำกอง
โรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นมัธยมและโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นประถม
แสดงว่านักเรียนนายร้อยไม่เพียงเรียนได้ดีเท่านั้น
ยังเป็นนักเรียนที่สามารถออกศึกสงคราม เช่นเดียวกับทหารบกทั้งปวง
และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
 
  
   
   
    
 26 ธ.ค. 2452
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเปิดโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม
อย่างเป็นทางการ
 
  
  
    
   
 
พ.ศ.2468
 อันเป็นสมัยที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
ทำให้ต้องจัดการย้ายโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นประถม
จากบริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์
เข้ามารวมกันที่โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม ถนนราชดำเนินนอก
เรียกว่า "โรงเรียนนายร้อยทหารบก"
และให้ยกเลิก ชั้นประถม และมัธยม
 
  
  
  
  
  
   
 26 มี.ค. 2471 
 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานกระบี่และรางวัล
แก่นักเรียนนายร้อยทหารบกที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดทุกคนเป็นครั้งแรก
ตลอดจนถึงรัชกาลปัจจุบัน มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชทานกระบี่เป็นประจำทุกปี
 
  
     
  
  
  
  
  
  
  
     
 พ.ศ.2477 
 กรมยุทธศึกษาได้มีการปรับปรุงและจัดระเบียบใหม่ ทั้งบุคคลและหน่วยงาน
จึงได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก" มีหน้าที่ฝึกอบรมนักเรียนที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร
เหล่าทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ทหารสื่อสาร ทหารช่างแสง และช่างอากาศ
สำหรับโรงเรียนนายร้อยทหารบก มีหน้าที่ฝึกอบรมนักเรียนที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร
เหล่าทหารราบ ทหารม้า และนายตำรวจ
 
  
  
     
    
 3 พ.ค.2489
ยุบโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก และแผนกตำรวจในกรมยุทธศึกษาทหารบก
และเปลี่ยนชื่อกรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น "โรงเรียนนายร้อยทหารบก"
และให้ขึ้นตรงต่อกองทัพบก
 
  
  
  
    
   
   
   
   
    
 1 ม.ค. 2491
ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
ขนานนามโรงเรียนนายร้อยทหารบก ว่า "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า"
เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Chulachomklao Royal Military Academy"
เพื่อเป็นอนุสรณ์และเฉลิมพระเกียรติ ในพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิด
และได้ดำเนินกิจการเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติมาด้วยดี
 
  
  
  
  
     
  ธ.ค. 2523 
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ย้ายมาตั้งอยู่ที่บริเวณเขาชะโงก อำเภอเมือง ต่อกับอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
พื้นที่ประมาณ 21,000 ไร่เศษ และได้เริ่มโครงการก่อสร้าง
 
  
   
  
  
  
  
  
  
  
  
     
 29 ก.ค. 2529 
 เคลื่อนย้ายนักเรียนนายร้อย และข้าราชการ ออกจากที่ตั้งเดิม
เข้าสู่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ ที่ตั้งแห่งใหม่ จังหวัดนครนายก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น